Banner_Head

Banner_Post

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร ใครเป็นคนหักเก็บไว้และต้องหักจำนวนเท่าไหร่

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร ใครเป็นคนหักเก็บไว้และต้องหักจำนวนเท่าไหร่


ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร ใครเป็นคนหักเก็บไว้และต้องหักจำนวนเท่าไหร่


     ผู้ประกอบการหลายท่านที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ ส่วนใหญ่มักจะสงสัยเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร และหากว่าผู้ประกอบการจำเป็นต้องดำเนินการหักเงินเอาไว้ ต้องหักเก็บไว้เป็นจำนวนเท่าไหร่ 

     ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ทางกรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จ่ายเงินค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าบริการ โดยให้ผู้ประกอบการที่จ่ายเงินค่าใช้บริการนั้นทำการหักภาษีเอาไว้ส่วนหนึ่ง แล้วนำส่งสรรพากรให้กับคนที่รับเงิน หรือกล่าวง่าย ๆ คือ เก็บค่าบริการที่ต้องจ่ายให้ผู้รับส่วนหนึ่งไว้แล้วทำการจ่ายเป็นภาษีล่วงหน้าให้กับผู้ประกอบการที่รับเงิน 


ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร ใครเป็นคนหักเก็บไว้และต้องหักจำนวนเท่าไหร่


ภาษีหัก ณ ที่จ่ายนี้จะเกี่ยวข้องกับใครบ้าง 


     ผู้ประกอบการที่ต้องจ่ายค่าใช้บริการและต้องดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น จะเกี่ยวข้องอยู่ประมาณ 5 กลุ่มด้วยกัน คือ 
  1.  ค่าเช่า               หักภาษีไว้ก่อน 5%
  2.  ค่าบริการหรือค่าจ้างทำของ หักภาษีไว้ก่อน 3%
  3.  ค่าโฆษณา            หักภาษีไว้ก่อน 2%
  4.  ค่าประกันภัยต่าง ๆ      หักภาษีไว้ก่อน 1%
  5.  ค่าขนส่ง             หักภาษีไว้ก่อน 1%

     ทางสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากผู้ประกอบการเป็นผู้จ่ายเงินค่าใช้บริการใน 5 กลุ่มนี้ จำเป็นต้องหักค่าใช้จ่ายแล้วนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร โดยใน 5 กลุ่มที่ใช้บริการนี้ ก็จะมีเรทภาษีที่หักแตกต่างกันไป

     ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ เงินที่เราจะหักเมื่อเราทำการจ่าย เมื่อเราจะจ่ายเงินให้กับค่าบริการใน 5 กลุ่มนี้ เราก็หักภาษีเอาไว้ตามเปอร์เซ็นต์ที่ทางกรมสรรพากรระบุ ภาษีส่วนนี้ผู้ประกอบการต้องหักเอาไว้และนำส่งให้กรมสรรพากรในเดือนถัดไป ส่วนผู้ที่รับเงินก็จะได้รับเงินไม่เต็มจำนวน แต่จะได้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแทน


ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร ใครเป็นคนหักเก็บไว้และต้องหักจำนวนเท่าไหร่


     ยกตัวอย่าง ผู้ประกอบการมีค่าเช่าออฟฟิศเดือนละ 10,000 บาท ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 5% ของค่าเช่า ก็คือ 500 บาท แล้วก็จ่ายเงินให้เจ้าของอาคาร 9,500 บาท พร้อมกับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นเอกสารฉบับหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องออกให้ ส่วนเงินจำนวน 500 บาท ผู้ประกอบการต้องให้นักบัญชีบันทึกเป็นภาษีและนำส่งให้กับสรรพากรต่อไป ระบบนี้เรียกว่า ระบบหัก ณ ที่จ่าย คนที่หักเงินไว้เป็นคนจ่าย คนรับเงินที่ถูกหักเงินไปก็จะเป็นภาษีที่ถูกหักเอาไว้ เป็นภาษีแบบจ่ายล่วงหน้านั่นเอง 

     ผู้ให้บริการที่ได้รับเงินไม่ครบตามจำนวนเพราะถูกหักเอาไว้ 500 บาทนั้น เปรียบเสมือนภาษีที่เขาจ่ายล่วงหน้าให้กับสรรพากรไว้แล้ว 500 บาท ซึ่งพอถึงสิ้นปีบัญชี ผู้ให้บริการคำนวณรายรับรายจ่ายเพื่อยื่นเสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม หากคำนวณออกมาแล้วพบว่า จ่ายภาษีเกินหรือถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้มากเกินกว่าที่คำนวณออกมาได้ ก็สามารถที่จะยื่นขอคืนภาษีที่ถูกหักไว้เกินนั้นได้เช่นกัน ดังนั้น การถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา แต่เป็นการบรรเทาการจ่ายภาษีเป็นเงินก้อนใหญ่ในช่วงเทศกาลจ่ายภาษี เพราะเราได้มีแบ่งจ่ายก้อนเล็ก ๆ ไปแล้วด้วยการหักจ่ายโดยผู้ใช้บริการนั่นเอง

     สรุป ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ใช้บริการที่ต้องจ่ายเงินให้ 5 กลุ่มบริการดังกล่าวข้างต้น คือ ค่าเช่า ค่าบริการ ค่าโฆษณา ค่าประกันภัยและค่าขนส่ง ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แล้วนำส่งภาษีแทนคนรับเงิน เพื่อเป็นการตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินได้นั่นเอง


เปิดบัญชีหุ้นและ TFEX

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น

Banner_Post2