Banner_Head

Banner_Post

สอนเทรดเบื้องต้น : 7 เทคนิคตั้ง Take Profit และ Stop Loss แบบง่าย ๆ เทรดเดอร์มือใหม่ควรรู้

 

สอนเทรดเบื้องต้น : 7 เทคนิคตั้ง Take Profit และ Stop Loss แบบง่าย ๆ เทรดเดอร์มือใหม่ควรรู้


สอนเทรดเบื้องต้น : 7 เทคนิคตั้ง Take Profit และ Stop Loss แบบง่าย ๆ เทรดเดอร์มือใหม่ควรรู้


     พี่แดงเชื่อว่า เทรดเดอร์ที่เทรดหรือลงทุนมาสักระยะหนึ่ง ส่วนใหญ่จะมีแนวทางในการตั้งจุด Take Profit และ Stop Loss เป็นของตัวเองจากระบบที่ตัวเองเทรดอยู่ เพียงแต่ในวันนี้ พี่แดงจะมาแนะนำแนวทางในการตั้งจุด 
Take Profit และ Stop Loss เบื้องต้น สำหรับเทรดเดอร์หรือนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าเราควรจะตั้งที่จุดไหนดี

     1.ตั้งตามจำนวนเงินหรือตามเปอร์เซ็นต์ที่เราต้องการ เช่น ต้องการเก็บกำไรครั้งละ 1,000 บาท หรือจะยอม Cut Loss เมื่อขาดทุน 1,000 บาท หรือ จะตั้ง 
Take Profit เมื่อได้กำไร 1% หรือ ตั้งจุด Cut Loss เมื่อขาดทุน 1% เป็นต้น

     2.ตั้งตามจุดเฝ้าระวังของรายใหญ่ การตั้งค่าในรูปแบบนี้ อ้างอิงจากการที่ผู้เล่นรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหรือสถาบันที่มีมูลค่าการซื้อขายปริมาณมากนั้น มักจะไม่ค่อยดูที่ตัวเลขยิบย่อยกัน แต่จะมองกันที่ตัวเลขกลม ๆ กันเสียมากกว่า เช่น 1,000 จุด หรือ 1,400 จุด แต่จะไม่ค่อยมองที่ตัวเลข 1,386 จุด แบบนี้ เป็นต้น จึงเป็นจุดที่มีนัยยะสำคัญในการตั้ง 
Take Profit และ Stop Loss หรืออีกกรณีหนึ่ง อาจตั้งตามจุดสูงสุดหรือต่ำสุดของแท่งเทียนใน Timeframe ใหญ่ก็ได้ เช่น Timeframe Week หรือ Timeframe Month เป็นต้น

     3.ตั้งตามแนวรับแนวต้านเชิงจิตวิทยา หรือตามแนวของ Fibonacci นั่นเอง ไม่มีทางที่กราฟจะวิ่งไปในทิศทางเดียวกันตลอดโดยไม่มีการพักตัวเลย ดังนั้น เมื่อเรารู้ถึงบริเวณที่เป็นแนวโน้มทางจิตวิทยาจะได้ปิดคำสั่งซื้อได้ก่อนนั่นเองครับ


สอนเทรดเบื้องต้น : 7 เทคนิคตั้ง Take Profit และ Stop Loss แบบง่าย ๆ เทรดเดอร์มือใหม่ควรรู้


     4.ตั้งจากการ Breakout Trendline ซึ่งมักจะเป็นจุดที่เทรดเดอร์หลาย ๆ คนใช้เป็นจุดตัดสินใจในการเปิดหรือปิดออเดอร์นั่นเอง หรืออีกรูปแบบหนึ่ง คือ การลากเทรนไลน์ในรูปแบบของสามเหลี่ยม การเทรดในสไตล์นี้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพสูงอยากให้ลองนำไปฝึกฝนกันดู

     5.ตั้งตามแนว Swing High และ Swing Low ของยอดคลื่นที่ผ่านมา ทุก ๆ การกลับตัวของกราฟ จะมียอดสูงสุดและยอดต่ำสุดของกราฟ ให้ตั้งเป็นจุดเฝ้าระวังไว้นั่นเอง

     6.ตั้งตามอินดิเคเตอร์ที่ใช้งาน เช่น MACD, Bollinger Band, PSAR, EMA เป็นต้น   ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อินดิเคเตอร์ตัวใด ระบบเทรดเป็นรูปแบบใด

     7.ตั้งตามจุด Price Action หรือแพทเทิร์นกลับตัวของแท่งเทียน โดยเฉพาะใน Timeframe Day เพราะการดูรูปแบบใน 
Timeframe ที่เล็ก มักจะไม่ค่อยแม่น เราสามารถเรียนรู้เรื่องรูปแบบแพทเทิร์นกลับตัวต่าง ๆ จากหนังสือสอนหุ้นทั่วไปก็ได้ครับ




สนใจเปิดบัญชีหุ้นและ TFEX

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น

Banner_Post2