วางแผนทำธุรกิจในอนาคต เปิดบริษัทล่วงหน้าก่อนแต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ทำได้ไหม?

วางแผนทำธุรกิจในอนาคต เปิดบริษัทล่วงหน้าก่อนแต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ทำได้ไหม?


วางแผนทำธุรกิจในอนาคต เปิดบริษัทล่วงหน้าก่อนแต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ทำได้ไหม?


     ในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากดั่งเช่นปัจจุบันนี้ บางครั้งไอเดียดี ๆ มักเกิดขึ้นมาในหัวชั่วแวบเดียวแล้วก็หายไป ซึ่งไอเดียเพียงชั่วครู่นี่เองที่มักจะก่อเป็นธุรกิจให้เราได้ หากเราไม่เพิกเฉยไปเสียก่อน แต่แน่นอนว่า การประกอบธุรกิจในปัจจุบัน สามารถที่จะทำได้เป็น 2 กรณี คือ ทำในนามบุคคลธรรมดา และทำในนามนิติบุคคลหรือเปิดกิจการนั่นเอง

     ทั้งสองกรณี มีทั้งข้อดี-ข้อด้อยที่แตกต่างกัน หากเราเลือกตัดสินใจที่จะเปิดเป็นนิติบุคคล จัดตั้งเป็นบริษัทขึ้นมา แต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินกิจการใด ๆ มีเพียงแค่เตรียมกิจการให้พร้อมก่อนเริ่มเท่านั้น สามารถทำได้หรือไม่ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สามารถนำมาลงบัญชีเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบครับ

     เรื่องแรกเลย คือ เรื่องของค่าใช้จ่าย หลังจากที่เราได้จดจัดตั้งบริษัทแล้ว แม้ว่าจะยังไม่มีงานเข้ามาหรือยังไม่มีลูกค้า ไม่มีการขายสินค้าแม้แต่รายการเดียว แต่มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อย จิปาถะเกิดขึ้น ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เราสามารถนำค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านั้น มาบันทึกลงในรายการค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ทุกรายการ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำธุรกิจนั่นเองครับ เช่น ค่าเช่าออฟฟิศ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มธุรกิจที่จำเป็นต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าทั้งสิ้น


วางแผนทำธุรกิจในอนาคต เปิดบริษัทล่วงหน้าก่อนแต่ยังไม่ได้ดำเนินการ ทำได้ไหม?



     นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของค่าโฆษณา Google Ads หรือ Facebook Ads ก็สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายได้ด้วยเช่นเดียวกัน หรือแม้กระทั่ง ค่าใช้จ่ายเรื่องของเงินเดือนพนักงานธุรการของบริษัท เงินเดือนพนักงานมาร์เก็ตติ้ง หรือแม้กระทั่งเงินเดือนของตัวเอง เงินเดือนกรรมการ ก็สามารถลงบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งสิ้น

     เมื่อเปิดกิจการจนกระทั่งถึงสิ้นปี หรือวันที่ 31 ธันวาคม บริษัทจำเป็นต้องปิดรอบบัญชี หากยังไม่มีรายได้เข้ามา กรณีแบบนี้ เราเรียกว่า ปิดงบเปล่า ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเล็กน้อย เช่น ค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี และค่าสอบบัญชี เป็นต้น

     ค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี และค่าสอบบัญชีนั้นก็จะพิจารณาจาก Transaction ของธุรกิจว่ามีมากน้อยแค่ไหน มีการประเมินจากปริมาณของเอกสารที่ดำเนินการของกิจการนั้น ๆ การปิดงบเปล่าจำเป็นต้องส่งงบตามที่กฎหมายกำหนด จึงต้องหาผู้ทำบัญชีให้ถูกต้อง หาผู้สอบบัญชีเซ็นรับรอง และส่งงบให้ทันภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของปีถัดไป หรือหากไม่ได้ปิดรอบบัญชีในวันสิ้นปีปฏิทินเหมือนเช่นบริษัทอื่น ๆ  ก็ต้องส่งงบการเงินต่อกระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากรภายใน 5 เดือน เป็นกติกาที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเท่านั้นเองครับ


ต้องการเปิดบัญชีหุ้นและ TFEX

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น