Fit Money มีตังค์ EP.1 | เงินเราหายไปไหน เงินไม่พอใช้เกิดจากสาเหตุอะไร รายจ่ายในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง
Fit Money มีตังค์ ซีรี่ย์การเงินง่าย ๆ ที่ใช้ได้ในชีวิตจริง สำหรับคลิปนี้เป็นคลิปแรก EP.1 พี่แดงจึงขอเริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการสืบหาให้ได้ว่า เงินเราหายไปไหน ทำไมเงินเดือนไม่เคยพอใช้เสียที เป็นคำถามในใจของคนหลาย ๆ คนที่รู้สึกว่า เราเองก็ใช้จ่ายอย่างประหยัดอยู่แล้วในทุกวันนี้ แต่ทำไมยังไม่มีเงินเหลือพอจนถึงสิ้นเดือนเสียที คลิปนี้มีคำตอบครับ
พี่แดงเคยถูกสอนมาว่า หากเราไม่รู้ว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดีหรือต้องการเปรียบเทียบอะไรบางอย่างให้เราทำ T-Bar ขึ้นมา
T-Bar คือ การลากเส้นด้านบนแนวขวางและก็แนวตั้งเป็นรูปตัว T นั่นเอง แบ่งซีกซ้ายและซีกขวาเป็นที่เราต้องการเปรียบเทียบ อย่างในตัวอย่างนี้ จะใช้ซีกซ้ายเป็นรายรับ ส่วนซีกขวาเป็นรายจ่าย ให้เราลิสต์รายการออกมาว่า ฝั่งรายรับเรามีอะไรบ้างและฝั่งรายจ่ายของเรามีอะไรบ้าง พยายามนึกออกมาให้ได้มากที่สุดเลยนะครับ
จากตัวอย่าง ฝั่งซ้ายเป็นฝั่งของรายรับว่าเรามีรายรับจากแหล่งใดบ้าง เช่น หากเป็นพนักงานประจำมีเงินเดือนหรือเรามีงานเสริมอื่น ๆ เช่น ขายออนไลน์ เราก็นำรายรับของเรามากรอกลงไป ส่วนฝั่งขวามือจะเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่าอาหาร ค่ากาแฟ ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าเสื้อผ้า กระเป๋า ค่าน้ำ ค่าไฟค่า Netflix ค่าฟิตเนสหรือท่องเที่ยว สังสรรค์กับเพื่อน เป็นต้น
พอเราแจกแจงออกมาเป็น 2 ฝั่งแบบนี้แล้วจะเห็นได้ชัดเจนทันทีว่า เพราะเหตุใด? เราจึงมีเงินเดือนไม่เคยพอใช้เสียที ฝั่งรายรับเรามีเพียงแค่แหล่งเดียว แต่ฝั่งรายจ่ายเรามีมากมายมหาศาล ซึ่งวิธีการทำให้มีเงินเดือนเหลือใช้ในแต่ละเดือนง่ายมากครับ เพียงแค่เพิ่มแหล่งรายได้ให้มากขึ้นและลดฝั่งรายจ่ายให้น้อยลง
คราวนี้เราก็ต้องมาดูว่ารายการรายจ่ายไหนบ้างที่เราสามารถตัดออกไปหรือหากตัดไม่ได้ก็ลดให้เหลือน้อยลงที่สุด
ในส่วนของรายรับ เราก็ต้องมองหาช่องทางของรายได้เพิ่มเติม หากเรามีเวลาเท่าเดิม
คือ 24 ชั่วโมง เราก็ต้องพยายามหางานที่ไม่ดึงเวลาของเราไปหรือหากเป็นไปได้
พยายามหารายได้ที่สามารถสร้าง Passive Income ได้ในอนาคต แล้วพยายามทำไปก่อน
ช่องทางประเภทนี้ในช่วงแรกจะมีรายรับไม่มากนัก แต่เมื่อผ่านไปสักระยะเวลาหนึ่ง
ผลตอบแทนจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้เราเหนื่อยน้อยลง
เชื่อไหมครับว่า บางคนไม่เคยทำรายรับ-รายจ่ายแยกออกมาเป็นรายการแบบนี้ เวลาที่เรามีรายจ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ เรามักจะมองข้าม คิดว่าไม่เป็นไรหรอกเพียงแค่เล็กน้อย แต่หากรายจ่ายเล็กน้อยเหล่านั้น มีจำนวนหลายก้อนก็จะกลายเป็นรายจ่ายที่มากขึ้นได้และเรามักจะจ่ายโดยไม่รู้ตัว
ในส่วนของแหล่งรายได้เปรียบเสมือนกับ Power Bank เงินเดือนเป็นรายรับประจำเปรียบเสมือนไฟฟ้า หากวันใดวันหนึ่งไฟฟ้าดับ อย่างน้อยเราก็ยังพอมี Power Bank ไว้ต่อหลอดไฟให้แสงสว่างได้เล็กน้อยก็ยังดี
แนวความคิดที่พี่แดงถูกสอนมา คือ อย่าให้แหล่งรายได้แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มีสัดส่วนเกิน 50% ของแหล่งรายได้รวมทั้งหมด เพราะนั่นคือ ความเสี่ยง หากแหล่งรายได้ที่ 2 แล้วแต่ยังมีสัดส่วนของแหล่งรายได้ใดแหล่งหนึ่งที่เกิน 50% อยู่ ให้เราพัฒนาแหล่งรายได้ที่ 2 ให้ดีขึ้นหรือให้หาแหล่งรายได้ที่ 3 ทำอย่างไรก็ได้ให้แหล่งรายรับแต่ละแหล่งไม่มีสัดส่วนเกิน 50% ของรายได้ทั้งหมด
เชื่อไหมครับว่า บางคนไม่เคยทำรายรับ-รายจ่ายแยกออกมาเป็นรายการแบบนี้ เวลาที่เรามีรายจ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ เรามักจะมองข้าม คิดว่าไม่เป็นไรหรอกเพียงแค่เล็กน้อย แต่หากรายจ่ายเล็กน้อยเหล่านั้น มีจำนวนหลายก้อนก็จะกลายเป็นรายจ่ายที่มากขึ้นได้และเรามักจะจ่ายโดยไม่รู้ตัว
ในส่วนของแหล่งรายได้เปรียบเสมือนกับ Power Bank เงินเดือนเป็นรายรับประจำเปรียบเสมือนไฟฟ้า หากวันใดวันหนึ่งไฟฟ้าดับ อย่างน้อยเราก็ยังพอมี Power Bank ไว้ต่อหลอดไฟให้แสงสว่างได้เล็กน้อยก็ยังดี
แนวความคิดที่พี่แดงถูกสอนมา คือ อย่าให้แหล่งรายได้แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มีสัดส่วนเกิน 50% ของแหล่งรายได้รวมทั้งหมด เพราะนั่นคือ ความเสี่ยง หากแหล่งรายได้ที่ 2 แล้วแต่ยังมีสัดส่วนของแหล่งรายได้ใดแหล่งหนึ่งที่เกิน 50% อยู่ ให้เราพัฒนาแหล่งรายได้ที่ 2 ให้ดีขึ้นหรือให้หาแหล่งรายได้ที่ 3 ทำอย่างไรก็ได้ให้แหล่งรายรับแต่ละแหล่งไม่มีสัดส่วนเกิน 50% ของรายได้ทั้งหมด
0 ความคิดเห็น