3 ตัวอย่างจากกฎของตัวเลข 72 ในชีวิตจริง สาเหตุที่คนเป็นหนี้จนล้มละลาย
เคยสงสัยมั้ยครับว่า
เงินของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ต้องใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่
หรือคนที่มีหนี้บัตรเครดิตเพียงแค่จํานวนเล็กน้อย
แต่ทําไมจึงกลายเป็นบุคคลล้มละลายได้ รวมถึง เมื่อเราแก่ตัวไปแล้ว
เงินเก็บที่เราคิดว่าเพียงพอในยามเกษียณ มันพอจริงไหม ด้วยกฎ 72 นี้
เราจะได้เรียนรู้วิธีการคํานวณที่ง่าย และก็เร็วมาก ๆ เตรียมตัวให้พร้อม
แล้วมาลุยกันเลยครับ
ในความเป็นจริงแล้ว มีวิธีการในการคํานวณว่าเงินของเราจะเพิ่มขึ้นเป็นจํานวนเท่าไหร่ ด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้น แต่แน่นอนครับว่ามันเป็นสูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งเราจะต้องมีการคํานวณด้วยตัวเลขยกกําลัง จึงมีการใช้กฎของตัวเลข 72 มาช่วยให้คํานวณง่ายขึ้นว่าเงินของเราจะเป็นเท่าไหร่ในอนาคต หรือแม้กระทั่ง เงินของเราจะลดค่าไปเท่าไหร่ในอนาคต เรามาดูตัวอย่างกันเลยครับ
ในความเป็นจริงแล้ว มีวิธีการในการคํานวณว่าเงินของเราจะเพิ่มขึ้นเป็นจํานวนเท่าไหร่ ด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้น แต่แน่นอนครับว่ามันเป็นสูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งเราจะต้องมีการคํานวณด้วยตัวเลขยกกําลัง จึงมีการใช้กฎของตัวเลข 72 มาช่วยให้คํานวณง่ายขึ้นว่าเงินของเราจะเป็นเท่าไหร่ในอนาคต หรือแม้กระทั่ง เงินของเราจะลดค่าไปเท่าไหร่ในอนาคต เรามาดูตัวอย่างกันเลยครับ
ระยะเวลาที่เงินจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
มีสูตรคํานวณแบบง่าย ๆ ด้วยกฎของ 72 คือ นำตัวเลข 72 หารด้วยอัตราผลตอบแทนต่อปี
คำตอบที่ได้จะเป็นจำนวนปีที่เงินของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นั่นเอง
ตัวอย่างที่ 1 กรณีดอกเบี้ยทบต้น
นาย ก. มีเงินฝากจํานวน 100,000 บาทได้รับดอกเบี้ยทบต้นในอัตราที่ 6% ต่อปี เงินจํานวนนี้ เราจะมาคํานวณดูว่า มันจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในระยะเวลากี่ปี
นำตัวเลข 72 หารด้วยอัตราผลตอบแทนต่อปี นำมาแทนค่า ก็คือ 72 หาร 6 นั่นเอง เพราะฉะนั้น เราจึงใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 ปี เงินเก็บก้อนนี้ของเราจะโตขึ้นมากลายเป็น 2 เท่า หรือ 200,000 บาท
นาย ก. มีเงินฝากจํานวน 100,000 บาทได้รับดอกเบี้ยทบต้นในอัตราที่ 6% ต่อปี เงินจํานวนนี้ เราจะมาคํานวณดูว่า มันจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในระยะเวลากี่ปี
นำตัวเลข 72 หารด้วยอัตราผลตอบแทนต่อปี นำมาแทนค่า ก็คือ 72 หาร 6 นั่นเอง เพราะฉะนั้น เราจึงใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 ปี เงินเก็บก้อนนี้ของเราจะโตขึ้นมากลายเป็น 2 เท่า หรือ 200,000 บาท
หากเราใช้สูตรเดิม
เพียงแต่เราสามารถที่จะหาผลตอบแทนได้มากกว่า 6% ต่อปี เช่น ลงทุนได้ 10%
ต่อปี จากที่เงิน 100,000 บาท กลายเป็น 200,000 บาท ใช้เวลา 12 ปี
ก็จะลดลงเหลือแค่ 7.2 ปี เท่านั้น ร่นระยะเวลาไปได้ประมาณ 5 ปี
เพียงแค่ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นมา 4% นี่คือตัวอย่างที่ 1 ของการใช้กฎของตัวเลข
72
ตัวอย่างที่ 2 กรณีดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงิน
ในกรณีดอกเบี้ยเงินกู้ทบต้นนั้น หลายท่านไม่รู้ว่า การมีหนี้สินกับบัตรเครดิตอยู่แค่จํานวนเล็กน้อย แต่เมื่อเวลาผ่านไป 4-5 ปี กลับถูกฟ้องร้องกลายเป็นบุคคลล้มละลาย แสดงว่าดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเฉพาะดอกเบี้ยบัตรเครดิตช่างน่ากลัวจริง ๆ
ในกรณีดอกเบี้ยเงินกู้ทบต้นนั้น หลายท่านไม่รู้ว่า การมีหนี้สินกับบัตรเครดิตอยู่แค่จํานวนเล็กน้อย แต่เมื่อเวลาผ่านไป 4-5 ปี กลับถูกฟ้องร้องกลายเป็นบุคคลล้มละลาย แสดงว่าดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเฉพาะดอกเบี้ยบัตรเครดิตช่างน่ากลัวจริง ๆ
นาย ข. มีหนี้บัตรเครดิตจํานวน 50,000 บาท
ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตรา 18% ต่อปี หนี้สินจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
โดยใช้ระยะเวลากี่ปี
นำมาแทนสูตรเหมือนเดิม คือ 72
หารด้วยอัตราดอกเบี้ยต่อปี ก็คือ 72 หารด้วย 18 คำตอบที่ได้ คือ เมื่อเวลาผ่านไป
4 ปี หนี้สินที่มีอยู่ 50,000 บาท จะกลายเป็น 100,000 บาท หากใครมีหนี้สินอยู่
500,000 บาท ผ่านไป 4ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ย 18% จะกลายเป็นหนี้ที่ 1,000,000
บาทนั่นเอง จึงทําให้หลายคนที่มีหนี้บัตรเครดิตอยู่ 500,000 บาท
ไม่ยอมชดใช้หนี้ผ่านไปแค่ 4 ปี กลายเป็นบุคคลล้มละลายไปในทันที
ยิ่งหากเราเป็นหนี้นอกระบบด้วยแล้ว
จะยิ่งทำให้หนี้สินพอกพูนเร็วขึ้นอีกมากมาย เช่น
สมมติว่าเราไปเป็นหนี้นอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยที่ 10% ต่อเดือน หรือ 120%
ต่อปี หากเรามีหนี้ 50,000 บาท ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท
โดยใช้เวลาเพียงแค่ครึ่งปีเท่านั้นเอง นี่คือแนวทางทางที่เราสามารถใช้กฎ 72
มาคํานวณแบบง่าย ๆ
ตัวอย่างที่ 3 กรณีเงินเฟ้อจากสภาวะเศรษฐกิจ
นาย ค. เคยตัดผมครั้งละ 100 บาท หากอัตราเงินเฟ้อ ปัจจุบันอยู่ที่ 5% ต่อปี เงินค่าตัดผมจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือต้องจ่ายเงินค่าตัดผม 200 บาท ใช้ระยะเวลากี่ปี
นาย ค. เคยตัดผมครั้งละ 100 บาท หากอัตราเงินเฟ้อ ปัจจุบันอยู่ที่ 5% ต่อปี เงินค่าตัดผมจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือต้องจ่ายเงินค่าตัดผม 200 บาท ใช้ระยะเวลากี่ปี
เงินเฟ้อ กล่าวโดยง่าย ๆ
เหมือนสมัยก่อนเคยทานก๋วยเตี๋ยวชามละ 5 บาท, 10 บาท แล้วก็เพิ่มขึ้นเป็น 20 บาท,
25 บาท จนทุกวันนี้กลายเป็นชามละ 30-40 บาท ไปแล้ว นั่นก็คือ
เงินเฟ้อนั่นเอง
แทนค่าสูตรด้วย 72 หารด้วยอัตราเงินเฟ้อต่อปี
นั่นคือ 72/5 คำตอบที่ได้ คือ เงินที่เราตัดผม 100 บาทผ่านไป 14 ปี
เราจะต้องจ่ายค่าตัดผม 200 บาท
เงินเฟ้อยังกระทบกับเงินออมที่เราเก็บเอาไว้ใช้ยามเกษียณอีกด้วย สมมติว่า อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 5% เรามีเงินเก็บหนึ่งล้านบาท ตอนอายุ 60 ปี หากไม่เสียชีวิตไปเสียก่อน มีอายุยืนยาวไปจนถึง 75 ปี เงินเก็บหนึ่งล้านบาทของเราก็จะลดค่าลงไปเหลือประมาณครึ่งนึง คือ ผ่านไป 14.4 ปีปุ๊บ เงินเก็บจากหนึ่งล้านมูลค่าก็จะเหลือ 500,000 บาท เป็นต้น
เงินเฟ้อยังกระทบกับเงินออมที่เราเก็บเอาไว้ใช้ยามเกษียณอีกด้วย สมมติว่า อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 5% เรามีเงินเก็บหนึ่งล้านบาท ตอนอายุ 60 ปี หากไม่เสียชีวิตไปเสียก่อน มีอายุยืนยาวไปจนถึง 75 ปี เงินเก็บหนึ่งล้านบาทของเราก็จะลดค่าลงไปเหลือประมาณครึ่งนึง คือ ผ่านไป 14.4 ปีปุ๊บ เงินเก็บจากหนึ่งล้านมูลค่าก็จะเหลือ 500,000 บาท เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ
อย่าเพียงแค่ให้เงินออมของเราอยู่นิ่ง ๆ รอวันถอนออกมาใช้จ่ายเพียงอย่างเดียว
จะต้องให้เงินออมของเราทํางานให้เราด้วย ทำอย่างไรก็ได้ให้เงินต้นลดลงช้าที่สุด
หรือถ้าเป็นไปได้ให้มันเพิ่มขึ้นทุกปีก็ยิ่งดีเข้าไปใหญ่ หมายความว่า
เราจําเป็นต้องเรียนรู้ในเรื่องของการเงิน การลงทุนควบคู่ไปในปัจจุบันนี้ด้วย
นี่คือสิ่งที่พี่แดงอยากฝากเอาไว้
ท่านใดที่สนใจเทรดหุ้นหรือ TFEX ด้วยโปรแกรม
MT4 / MT5 พี่แดงแนะนำสมัครเปิดบัญชีกับ บล.พาย นอกจากนั้น
ยังมีบริษัทหลักทรัพย์บียอนด์
อีกหนึ่งแห่งที่ในอนาคตกําลังจะมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ตัวใหม่
ทําให้เทรดเดอร์อย่างเราเทรดง่ายขึ้นอีกด้วยครับ ขอฝาก QR Code
สมัครเปิดบัญชีไว้ให้
และน้องมาร์เก็ตติ้งที่ดูแลพี่แดงอยู่ก็ดูแลดีอีกด้วยครับ
![]() |
สนใจเปิดบัญชีหุ้นและ TFEX ฟรี! |
0 ความคิดเห็น